วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Nature of science_Benchmarks online

Scientific Inquiry grade 6-8
ในระดับชั้นนี้ นักเรียนต้องการการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งใน 1 อาทิตย์ ต้องมีอย่างน้อย 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปการเรียนแบบนี้เป็นการเรียนแบบใช้การทดลอง ซึ่ง concept การเรียนแบบนี้จะได้ผลตรงไปตรงมา แต่การปฏิบัตินั้นจะสำเร็จได้ยาก ผู้เรียนจะมีการพัฒนาตนเองได้ ก็ต่อเมื่อมีการทดลอง สืบเสาะ ปฏิบัติอย่างเพียงพอด้วย (ต้องใช้การทดลองหลาย ๆ แบบ) และอภิปรายในการทดลองอย่างชัดเจนว่าเป็นรูปแบบใด นักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะควรจะให้ความสำคัญกับการเรียนในทุกขั้นตอน และประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วย concept ในการเรียนวิทยาศาสตร์ทั้งระบบนี้ต้องมีหลักสูตร แต่ก็ไม่ได้ทำให้นักเรียนได้แนวคิดทั้งหมดหรือได้มาจากความบังเอิญ นักเรียนต้องทำ lab ด้วยตนเอง และจุดประสงค์หลักของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะนี้ ต้องทำให้นักเรียนรู้ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญมาก คือ การอ่าน การเรียนในระดับชั้นนี้เป็นช่วงที่ดีที่จะแนะนำให้รู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถค้นพบความจริง ซึ่งอาจไม่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง แต่ควรเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ประสบการณ์ อายุ วัฒนธรรม สถานการณ์ เวลา เป็นต้น

เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ
  1. นักวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในการศึกษาปรากฏการณ์ของแต่ละวิชา และพวกเขาก็จะมีวิธีการทำงานในแต่ละสาขา
  2. การสืบสวนทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเก็บสะสมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์โดยใช้เหตุผล จินตนาการในการหาสมมติฐาน และการอธิบายการเก็บข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล
  3. ถ้ามีตัวแปรเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 1 ตัว เวลาทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ชัดเจนเนื่องมาจากตัวแปรที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะไม่มีทางควบคุมตัวแปรภายนอกไม่ให้มีอิทธิพลได้
  4. การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่คอยสืบเสาะ กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเป็นผู้นำในการออกแบบการวิจัยหรือทดลองได้เสมอ ซึ่งสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยอาจจะไม่สามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ทั้งหมด
  5. สิ่งที่คนอื่นคาดหวังในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ เสมอ ๆ คือ เรื่องของผลที่เกิดขึ้นว่า พวกเขาได้ทำการสำรวจกันจริง ๆ หรือไม่เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงจากผลของข้อเท็จจริงอื่น ๆ
  6. นักวิทยาศาสตร์ทราบเกี่ยวกับข้อเสียของสิ่งที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า และเขาได้พยายามทำตามขั้นตอนเมื่อได้ออกแบบการสำรวจและทดสอบข้อมูล มาตรการอย่างหนึ่งที่แตกต่างกันในการสืบเสาะในการดำเนินการหรือปฏิบัติ คือ การเรียนด้วยตนเอง

The Scientific Worldview grade 6-8
วัยรุ่นมีความสนใจในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติมากกว่าปรัชญา พวกเขามีส่วนร่วมในการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สายเกินไปที่วัยรุ่นจะเริ่มต้นจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับความคงทนของความรู้วิทยาศาสตร์ เขาควรได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น บางครั้งผลของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งอาจทำให้คิดค้นทฤษฎีที่ดีกว่าเดิม

เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ

  1. เมื่อมีการสืบสวนแล้วมีผลที่แตกต่างกัน สิ่งท้าทายทางวิทยาศาสตร์ คือ การตัดสินผลว่า ความแตกต่างมีความสำคัญหรือไม่สำคัญ และจะต้องมีการศึกษาก่อนตัดสินใจ
  2. เมื่อมีผลที่คล้ายคลึงกัน นักวิทยาศาสตร์จะรอจนกระทั่งมีการสืบสวนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะยอมรับผลว่าถูกต้อง
  3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ของทฤษฎีที่มีความแพร่หลายกว่า และทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การสังเกตแบบเก่าในมุมมองใหม่
  4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างจะเก่ามาก ๆ แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
  5. เรื่องบางเรื่องยังไม่สามารถอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยทางธรรมชาติไม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกต
  6. บางครั้งวิทยาศาสตร์สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับจริยธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรม

The Scientific Enterprise grade 6-8

เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ

  1. สิ่งที่สนับสนุนความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ความแตกต่างกันของคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและเวลาที่ต่างกัน
  2. สตรีและชนกลุ่มน้อยซึ่งมีข้อจำกัดในการศึกษาและโอกาสการจ้างงานของสถานประกอบการ
  3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างทำให้ทุกคนอยู่บนโลกนี้ได้
  4. นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธุรกิจและอุตสาหกรรม โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆของรัฐหลาย ซึ่งล้วนประกอบด้วยสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ, ฟาร์ม, โรงงาน, ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินตลอดจนมหาสมุทร
  5. ในการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ จริยธรรมของวิทยาศาสตร์กำหนดให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและมีสิทธิที่จะปฏิเสธที่จะเข้าร่วมวิจัย เพราะสัตว์ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
  6. จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่ทราบเรื่องของผู้ร่วมงาน นักเรียนหรือชาวชุมชนเพื่อสุขภาพหรือทรัพย์สิน โดยไม่มีความรู้เดิมและได้รับความยินยอม
  7. คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะความเร็วและขยายความสามารถของผู้คนในการรวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทำรายงานการวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันทั่วโลก
  8. การเก็บบันทึกข้อมูล, การเปิดกว้างและการจำลองเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความน่าเชื่อถือของนักวิทยาศาสตร์และสังคม
  9. ความสนใจและมุมมองส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์จะมีผลต่อคำถามที่เขาศึกษา
  10. นักวิทยาศาสตร์ได้มีการเชื่อมโยงกับนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลกทั้งส่วนตัวและผ่านหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ

ที่มา : http://www.project2061.org/publications/bsl/online/index.php?chapter=1#B3

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

ความรู้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ สมาคมครูวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา (AAAS, 1989) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประเทศไทย (IPST, 2003) ได้อธิบายถึง ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของวิทยาศาสตร์ศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy) ดังนี้
องค์ประกอบของความรู้วิทยาศาสตร์ คือ

  1. ข้อเท็จจริง (Fact) คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้) ความรู้ที่ได้นี้ เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งเช่น “น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ตำ" , "น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ณ บริเวณที่ระดับน้ำทะเล" , "เกลือมีรสเค็ม" , "สเปคตรัมของแสงอาทิตย์มี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง" (ใช้อุปกรณ์ช่วย), "น้ำแข็งลอยน้ำได้"
  2. ความคิดรวบยอดหรือ มโนมติ (Concept) คือ ความคิดหลัก (Main idea) ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด ความเข้าใจ ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์ , ใบไม้แต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน ,พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นพืชที่มีใบเลี้ยงออกมาเพียงใบเดียวและมีเส้นใบขนานกัน
  3. หลักการ (Principle) เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ โดยนำกลุ่ม มโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริง แล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ (หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน)
  4. สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน) ตัวอย่าง "เมื่อพืชได้รับแสงมากขึ้น พืชนะเจริญเติบโตขึ้น" ,"ถ้าเพิ่มทำละลาย จุดเดือดของสารละลายจะเพิ่มขึ้น"
  5. ทฤษฎี (Theory) เป็นข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เป็นคำอธิบายหรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และใช้อ้างอิงได้ หรือ ทำนายปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างกว้าง สามารถใช้อธิบายกฎ หลักการ และการคาดคะเนข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองเดียวกันได้ (ทฤษฎี เป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น)
  6. กฎ (Law) เป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์กันระหว่าง เหตุกับผล และอาจเขียนในรูปสมการแทนได้ ผ่านการทดสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มาแล้ว (กฎ มีความจริงในตัวของมันเอง ไม่มีข้อโต้แย้ง สมารถทดสอบได้เหมือนเดิมทุกประการ) กฎอาจเกิดมาได้ 2 ทาง ด้วยกันจากการอุปมานข้อเท็จจริง โดยการรวบรวมจากข้อเท็จจริงหลายๆ ข้อเท็จจริงมาสรุปเป็น มโนมติ หลักการจากการอนุมานทฤษฎี โดยการดึงส่วนย่อยของทฤษฎีมาเป็นกฎ เช่น กฎสัดส่วนพหูคูณ แยกย่อยมาจากทฤษฎีอะตอม
คุณค่าของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
Driver และคณะ (1996) อธิบายว่าคุณค่าและความจำเป็นของการมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้ว่า ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์จะช่วยให้นักเรียน
  • ชื่นชมวิทยาศาสตร์ในแง่ของการมีจริยธรรมและวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน
  • ตระหนักถึงคุณค่า และความจำเป็นของการศึกษาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ของตนได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา : kmc.sukhothai2.go.th/.../1273494907_nature%20of%20sc%20math%20techno.doc

พระราชบัญญัติการศึกษาหมวด 4

สรุปหมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา


มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องต่อไปนี้
- รู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครอง
- ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
- ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
- ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
- ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
- จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น
- จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
- ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
- จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์ สวนสัตว์ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ โดยต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลในทุกด้าน สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

ที่มา : http://www.edu.chula.ac.th/eduinfo/eduact/eduact04.htm

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

constructivism 6 มิถุนายน 2553

ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist theory)
1. ผู้เรียนมีลักษณะเฉพาะบุคคล ซึ่งแต่ละตนก็มีความต้องการที่จะเรียนรู้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้เดิม โครงสร้างทางสังคม และสิ่งแวดล้อม
2. โครงสร้างทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจภาษา เหตุผล ระบบเกี่ยวกับตัวเลข จากการเป็นสมาชิกของสังคม
3. Social constructtivism เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ทำกิจกรรม ไม่เหมือนกับการศึกษาแบบเก่าที่เน้นให้ผู้เรียนนั่งฟังอย่างเดียว
4. แรงจูงใจในการเรียน ประสบการณ์ในอดีตจะมีผลต่อแรงจูงใจในการเรียน
5. บทบบาทของผู้สอนแนวคิดของ Social constructtivism ให้ผู้สอนปรับตัวเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งครูจะสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาด้วยตนเองและควรจัดการเรียนให้มีความท้าทายความคิดของผู้เรียน
6. ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ ควรมีการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนบุคคล ส่งผลให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจร่วมกัน
7. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บทบาทของครูผู้สอนและนักเรียน ตามแนวคิดของ Social constructtivism คือ ต่างคนต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จะเน้นที่ความสัมพันธ์ในกระบวนการเรียน
8. การเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีทักษะและพื้นฐานที่แตกต่างกัน ควรจะร่วมมือกันในการทำชิ้นงาน การอภิปราย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆร่วมกัน
9. สิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
10. ครูผู้สอนควรจะมีการประเมินผลการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ผลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินจะใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน
11. ความรู้ไม่ควรจะแบ่งเป็นวิชาย่อย ๆ ควรจะมีการบูรณาการหลาย ๆ วิชารวมกัน
12. ผู้เรียนควรได้รับการท้าทายด้วยภาระงานที่เพิ่มจากระดับความรู้หรือทักษะที่มีอยู่แล้ว และควรดูความต้องการของผู้เรียนด้วยว่าอยากเรียนอะไร